Tuesday, August 18, 2015

FIN Version 2.3 ออกแล้วนะครับ Update กันได้เลย

18 August 2015 - FIN มี update version ล่าสุดครับ Version 2.3  กด update กันได้เลยครับ  ส่วนรายละเอียดว่ามี อะไรใหม่ ปรับปรุงอะไร  ดูได้ที่ App Store - FIN App กองทุนรวม


Wednesday, August 5, 2015

ทำไมกองทุน Healthcare จึงน่าสนใจ (เตรียมพร้อม เมื่อตลาดโลกเข้าสู่ช่วง Market Correction)

ทำไมกองทุน Healthcare จึงน่าสนใจ
ระยะหลังๆ จะเห็นหลายบลจ. เริ่มออกกองทุนใหม่ๆ ที่เป็นกองทุนต่างประเทศในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare เช่น กรุงศรี กสิกร ออกกองทุน under กองทุนแม่ของ JP Morgan Funds - Global Healthcare Fund, UOB  ออกกองทุน under กองทุนแม่ United Global Healthcare Fund  เมื่อปีที่แล้ว  เป็นต้น มาปีนี้ ธนชาต ออก IPO กองทุน under กองทุนแม่ คือ Janus Capital Funds plc - Global Life Sciences Fund เนื่องจากผลตอบแทนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยดูจาก Benchmark ในอุตสาหกรรม Healthcare (MSCI World Health Care Index) อยู่เหนือ  Benchmark ของตลาดโลก ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน เป็นผลจากหลัง Hamburger crisis ทำให้ P/E ที่ต่ำกลับมาฟื้นตัวขึ้น บวกกับผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น และการปฏิรูปกฎหมายประกันสุขภาพในสหรัฐ (ObamaCare) ซึ่งถือว่ายังเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตต่อไปได้อีก จากการเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงวัยทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีคนสูงอายุ 60+ มากขึ้นเป็น 3 เท่าของปี 2000 รวมทั้งความต้องการชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพดี และอื่นๆ

source: MSCI.com



การเปรียบเทียบกองทุนว่าจะลงกองไหนดีผู้ลงทุนควรศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนแม่ (Master Fund) ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย

โดยก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Master Fund ของกองทุนที่แต่ละบลจ ได้ไปลงทุนกันก่อน


เปรียบเทียบ Performance กองทุน 4 กองจะเห็นว่าในช่วงต้น 2012 JPMorgan ออกตัวทำ performance อยู่เหนือกองอื่นๆ แต่ช่วงหลัง กอง Janus ทำผลงานได้ออกมาดีมากแซงหน้า JPMorgan ไปด้วยผลตอบแทนอันดับ 1 ใน 1y 50.05% ส่งผลให้ 3y 37.71%, 5y 29.62% ขี้นอันดับ 1 เช่นกัน ตามมาด้วย Wellington ทำได้ดีมากในช่วงหลังเช่นกัน 1y ได้ถึง 46.56% และ JPMorgan 1y ได้ 36.13% หากดูในระยะสั้น 1m, 3m, 6m กอง Janus ทำผลงานออกมาดี รองลงมา Wellington และ JPMorgan อย่างไรก็ตามทั้ง 4 กองมีผลตอบแทนเหนือBenchmark
source: Funds.ft.com


ด้านความเสี่ยง Manulife จะมีความเสี่ยงน้อยสุด แต่ผลตอบแทนก็ลดลงมา ส่วนผลตอบแทนที่เกาะกลุ่มกัน 3 กอง แต่กองของ wellington จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า 

source: Funds.ft.com


ด้านค่าใช้จ่าย total expense ratio  กอง Wellington ต่ำสุด คือ 1.35% รองลงมา JPMorgan 1.90% Manulife 1.96%  และสูงสุดคือ Janus 2.48%   initial charge  และ exit charge กอง Wellington ไม่เก็บ ทั้ง 2 ขา อีก 3 กอง เก็บ ขาเข้า  ไม่เกิน 5%  ขาออก JPmorgan ไม่เกิน 0.50% Janus  ไม่เกิน 1% และ Manulife  ไม่เก็บ

นอกจากจะเสียค่าธรรมเนียมจาก master fund แล้ว ก็จะมีค่าธรรมเนียมของกองทุนบลจ. ในไทยด้วย ถ้ารวมกับกองต่างประเทศ BCARE น่าจะเป็นกองที่ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำสุด แม้ว่าจะมีค่า exit charge แต่กองต่างประเทศไม่เก็บ


การให้ rating ของ morntingstar ระดับ 5 ดาว มี wellington, JPMorgan, Janus , UOB ส่วน Manulife ได้ 3 ดาว


เปรียบเทียบรูปแบบการลงทุน
บลจ. บัวหลวง - กอง master คือ Wellington Global Health Care Fund แม้ว่ากองนี้จะลงในหุ้น Large 30% และ Giant 28% เป็นหลัก แต่ก็เน้นการกระจายหุ้นในส่วนของ Medium Small  Micro  ด้วย  โดยมีหุ้นใน portfolio ถึง 123 ตัว เพื่อที่จะรับผลตอบแทนมากขึ้นจากขนาดของบริษัท และส่วนใหญ่จะเน้นลงใน Pharmaceutical & Biotechnology  75%  โดยการลงใน Biotech ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงนี้ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงมากด้วยเช่นกัน เนื่องจาก Biotech คือ การคิดค้น วิจัย ทำให้เกิดตัวยา วัคซีน ใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ หากมีการจดสิทธิบัตรจะทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นมาก แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน คือ ตั้งแต่ขั้นตอนวิจัยที่ต้องลงทุนสูง และแม้ว่าจะทำการวิจัยสำเร็จ แต่ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรของ FDA มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้เวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ช่วงนี้ อาจจะทำให้บริษัทขาดทุน และมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ สัดส่วนการลงทุนแยกตาม region เน้นลงใน US เกือบ 80% ใน Eurozone 13% แต่ที่ต่างจากกองอื่นคือ การลงใน Japan 7%

Wellington
source: trustnetoffshore.com data as of 31/07/2015


บลจ.กรุงศรี, กสิกร - กอง master คือ  JPMorgan Funds - Global Healthcare Fund
เน้นการลงทุนในหุ้นยักใหญ่พื้นฐานดี โดยมีหุ้น Giant มากที่สุดถึง 57% และ Large 21%  จำนวนหุ้นใน portfolio มี  89 ตัว ทั้งนี้หุ้นใน 10 อันดับแรกใน portfolio มีหุ้นยักใหญ่ 7 ตัวติดอันดับ Top 10 market cap คือ Johnson & Jonnson, Novartis, Roche Holding, Gilead Sciences, UnitedHealth Group, และ Bayer  เน้นลงทุนใน  Pharmaceutical 50% Biotech & Medical  26%  สัดส่วนการลงทุนตาม region จะลงใน US 64% Europe-ex Euro 16% และ Eurozone 10%

JPMorgan
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015


บลจ. ธนชาต - กอง master คือ  Janus Capital Funds plc - Global Life Sciences Fund เน้นลงทุนในหุ้น Giant 37% และ Large 22% กับ Medium 22%  ซึ่งจะมีหุ้นจำนวน 94 ตัว ใน portfolio หุ้นยักใหญ่ เช่น Johnson & Johnson,  Roche Holding, Sanofi, และ Amgen เน้นการลงทุนใน Pharmaceuticals  39%  และ Life Sciences  Tools  & Services & Biotechnology 37% ซึ่ง Life Sciences  Tools  & Services คือ บริษัทที่ครอบคลุมตั้งแต่ คิดค้นยา  พัฒนา ตลอดจนกระบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองผลิตภัณฑ์ และบริการงานวิจัย การจัดจำหน่าย รวมทั้งบริษัทที่ให้บริการด้านเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical) และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) สัดส่วนการลงทุนตาม region จะลงใน US มากเกือบ 80% Eurozone 8%  และ Eurozone - ex Euro 7%

Janus
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. Manulife - กอง master คือ  Manulife Global Fund Healthcare
เน้นลงทุนในหุ้น Giant 57% และ Large 42% ซึ่งจะมีหุ้นใน portfolio เพียงแค่ 32 ตัว  หุ้นยักใหญ่ เช่น Merck & Co, Roche Holding, Amgen และ Novartis เน้นลงใน pharmaceuticals 44%  Healthcare equipment & Supplies 23% สัดส่วนการลงทุนตาม region  จะลงใน US มากที่สุด 75% Europe - ex Euro 8% United Kingdom 8%

Manulife
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. UOB - กอง master คือ UOB United Global Healthcare Fund  เน้นลงทุนในหุ้น Large 30% Giant 20% และกระจายการลงทุนในหุ้นขนาด Medium Small Micro ด้วย  เน้นลงใน pharmaceuticals 29% และ biotech 26%  ลงใน  US  64%  Euro 12% และ Japan 7%

UOB
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. ภัทร - ไม่มีกอง master แต่เป็นการบริหารเอง โดยการเลือกลงทุนในหลายกองทุนรวมในต่างประเทศที่เป็นกองทุนแบบ ETF* ภายใต้หมวดต่างๆในอุตสาหกรรม Healthcare เช่น ETF ของกลุ่มบริษัทยา, ETF ของกลุ่มบริษัท Biotech ซึ่งใน portfolio ของภัทร จะมีกองทุน ETF ประมาณ 8 กอง เน้นการลงทุนใน  Pharma 26% Biotech 24% Healthcare 20% และอื่นๆ ซึ่งผลงานที่ผ่านมาก็ทำได้ดี ผลตอบแทนอยู่เหนือ Benchmark** ทั้งนี้เป็นผลจากการเลือกลงกอง ETF ที่ให้ผลตอบแทนดี เช่น หมวด Biotech เป็นตลาดที่เติบโตสูงมากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หากคำนวณจาก NASDAQ Biotechnology Index  ให้ผลตอบแทน ประมาณ 35% ต่อปี *** ข้อดีของการลงทุนใน ETF คือจะเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการมีหุ้นหลายตัว แต่ข้อเสียของการลงทุนมากกว่า 1 กอง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย
Phatra
source: FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund


หมายเหตุ 
*ETF คือ exchange traded fund หรือเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพสูงตามดัชนีอ้างอิงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิงของอุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่าง ดัชนี Set 50 ถ้าลงในกองทุน ETF Set 50 ผลตอบแทนจะได้ใกล้เคียง Set 50 Index จัดเป็น กองกลยุทธ์แบบ passive
**MSCI World Health Care Index เป็น Index ที่รวบรวมสัดส่วนหุ้นในทุกหมวดของอุตสาหกรรม healthcare ทั่วโลก
***คำนวณจาก NASDAQ Biotechnology Index data as of Aug 3, 2015
****ข้อมูล portfolio จาก FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund สามารถ download ได้ที่ https://itunes.apple.com/th/app/fin-app-kxngthun-rwm-mutual/id972662339?mt=8


บลจ. Tisco - ไม่มีกอง master แต่เป็นการบริหารเอง โดยการเลือกลงทุนในหลายกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูงของอุตสาหกรรม healthcare หรืออาจจะมีกองทุนแบบ ETF ร่วมอยู่ด้วยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่เน้นกลยุทธ์แบบ Active เพื่อผลตอบแทนสูงสุด ใน portfolio จะมีกองทุน ประมาณ 8 กอง ซึ่งมีกองที่เป็นที่รู้จักดีของ janus, JPMorgan และ Wellington แต่ที่โดดเด่นและทำผลตอบแทนเหนือกว่าก็มี อย่าง ของ Franklin Templeton, UBS เป็นต้น ถือว่าเป็นกองทุนที่น่าจับตามองอีกกองเช่นกัน ข้อดีคือ จะคัดกองทุนที่มีผลตอบแทนที่ดี ข้อเสียคือ แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนดีแต่ก็มีความเสี่ยงตามมาด้วย บวกค่าใช้จ่ายการบริหารกองทุนมากขึ้น  

Tisco
source: FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund

Price comparision 

TEMBDAI:LX -  Franklin Templeton, UBSEBIO;LX - UBS ผลตอนแทนเหนือ janus (Data as of Aug 03 2015, Bloomberg)



มองอย่างไรต่ออนาคตอุตสาหกรรม Healthcare


จากการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2011 ส่งผลให้ P/E ratio จาก 14 เท่า จนมาถึงช่วงเวลาปัจจุบันประมาณ 25 เท่า ทำให้ถูกมองว่า P/E สูงและมีราคาแพงและอาจจะปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่หรือไม่ ดังนั้นควรระวังความเสี่ยงระยะสั้นที่อาจจะเกิด และปัจจัยอื่นๆ เช่น Patent Cliff ของอุตสาหกรรมยา คือ ช่วงที่สิทธิบัตรของตัวยาที่มีชื่อเสียงกำลังจะทยอยหมดอายุ ทำให้มีคู่แข่งที่สามารถผลิต Generic Drugs ได้ในต้นทุนที่ถูกกว่า ส่งผลต่อการแข่งขันที่สูงขึ้น การต่อต้านนโยบาย Obama care ของฝ่ายค้าน replublican  อาจส่งผลต่อนโยบายหากได้รับการเลือกตั้งในปี 2016 ส่วนระยะยาวยังคงเติบโตตามโครงสร้างของจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่า จะมีผู้สูงอายุในปี 2050 กว่า 2 พันล้านคน ในขณะที่ US มีคนอเมริกันจ่ายค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยกว่าแปดพันเหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี และมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 17.5 ล้านคนในปี 2025 ซึ่งนั่นหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับหากยังมีการใช้นโยบาย Obama care อยู่ จะทำให้ มีผู้มีสิทธิเข้าถึงประกันสุขภาพและบริการด้านสุขภาพอีกกว่า 33 ล้านคนในปี 2022 และประเทศเกิดใหม่อย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น มีแนวโน้มของค่าใช้จ่ายด้าน Healthcare เพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศจีนจะมีผู้สูงอายุถึง 248 ล้านคนในปี 2020 นอกจากรับผลประโยชน์จาก Aging Sociaty แล้ว ยังมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะ ความรุนแรงของโรค โรคที่มีความซับซ้อน เป็นต้น








สรุปคือ หากผู้ลงทุนสนใจลงทุนในกลุ่ม healthcare แต่ไม่แน่ใจว่าราคาได้สูงไปแล้วหรือไม่ ควรใช้วิธีแบบ เฉลี่ยการลงทุน (DCA) และเน้นการลงทุนแบบระยะยาว